ปวดท้อง ปวดท้องข้างขวา ไส้ติ่งอักเสบ

ควรรู้ไว้! ปวดท้องข้างขวา มีโอกาสเสี่ยงเป็นอะไรได้บ้าง?

Home / สุขภาพทั่วไป / ควรรู้ไว้! ปวดท้องข้างขวา มีโอกาสเสี่ยงเป็นอะไรได้บ้าง?

การปวดท้อง ถือเป็นอาการผิดปกติที่สร้างความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน และแน่นอนต้องมีสาเหตุที่ร่างกายเตือนว่าเราอาจจะเป็นอะไรสักอย่าง ในทางการแพทย์มีการแบ่งอาการปวดท้องว่าปวดข้างไหน ตำแหน่งใด เพราะจะทำให้วินิจฉัยสาเหตุได้ง่ายมากขึ้น ในบทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับ อาการปวดท้องด้านขวา ใครที่ปวดบ่อยๆ มาดูกันว่าคุณอาจจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องข้างขวา เป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องบริเวณด้านขวาบน

เป็นบริเวณที่อยู่ของตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ

1. โรคตับ หรือโรคนิ่วในถุงน้ำดี จะเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารที่มีไขมันสูงมาก หากคลำหรือกดบริเวณที่ปวดอาจพบก้อนเนื้อแข็งๆ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน จะสังเกตได้ว่า มีอาการตัวเหลือง และตาเหลืองมากกว่าเดิม ตับอ่อนอักเสบ

2. ตับอ่อนอักเสบ ไม่ว่าจะปวดท้องส่วนบนทั้งซ้ายและขวา เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติและเกิดการอักเสบได้ อาการปวดอาจลามไปถึงแผ่นหลัง

ปวดท้องด้านขวาส่วนล่าง

บริเวณของไส้ติ่ง ลำไส้เล็กบางส่วน และกรวยไต อาจจะเป็นความผิดปกติต่อไปนี้..

ไส้ติ่งอักเสบ

หากปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่สะดือไปจนถึงท้องน้อยด้านขวาจนรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มปอด คลำดูแล้วเจอก้อนเนื้อนูนออกมาและเจ็บมาก สันนิษฐานได้เลยว่า คุณกำลังเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไส้ติ่งแตกออกมาจะส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้

ลำไส้แปรปรวน

เป็นความผิดปกติของลำไส้ จะทำให้รู้สึกปวดท้องบริเวณด้านขวาแบบรู้สึกมวนๆ ท้อง ไม่มีอาการรุนแรงอะไรมากนัก แค่ทานยาลดกรดก็สามารถหายได้เป็นปกติ

ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ

จะรู้สึกปวดท้องด้านขวาส่วนล่างร้าวไปจนถึงบริเวณต้นขา เกิดจากความผิดปกติของกรวยไต เป็นผลมาจากที่ชอบอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ไม่ดูแลสุขอนามัยในการเข้าห้องน้ำ บางครั้งอาจจะพบโรคนิ่วในไตได้

ปวดท้องใต้ซี่โครงขวา

เกิดจากลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ อาการที่พบทั่วไป เสียดท้องร่วมกับจุกเสียดอย่างรุนแรง แต่ไม่รุนแรงเท่าไส้ติ่งอักเสบ แต่ก็ไม่คควรปล่อยไว้นานเพราะจะทำให้เป็นลำไส้อักเสบ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาดีที่สุด

ปวดท้องบริเวณบั้นเอวด้านขวา

ตำแหน่งนี้เป็นที่อยู่ของลำไส้ใหญ่และท่อไต ถ้าปวดตำแหน่งนี้และมีการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย อาจหมายถึงภาวะลำไส้ใหญ่มีการอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที! แต่ถ้าหากปวดแบบแปล้บ ๆ แล้วหาย แต่รุนแรงมากขึ้นภายหลังจากการทานอาหารเค็ม อาจเกิดจากการที่ไตทำงานหนัก และเกิดการอักเสบ บรรเทาด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมากเพื่อขับความเค็มออกจากร่างกาย

ที่มา: honestdocs, khonkaenram

บทความแนะนำ