BMI ความอ้วน น้ำหนัก ผอม ลดความอ้วน อ้วนไหม

คุณอ้วนหรือผอมกันแน่? วิธีเช็คที่ชัวร์ๆ ว่าคุณอ้วนหรือไม่ ด้วยวิธีง่ายๆ ตามนี้

Home / สุขภาพทั่วไป / คุณอ้วนหรือผอมกันแน่? วิธีเช็คที่ชัวร์ๆ ว่าคุณอ้วนหรือไม่ ด้วยวิธีง่ายๆ ตามนี้

เราจะรู้ได้ยังไงว่า “อ้วน”!! ความ อ้วน วัดกันตรงไหน?     ความ อ้วน วัดกันด้วยอะไร?

ผู้หญิงหลายคน ชอบพูดติดปากว่าตัวเอง “อ้วน” อย่างนั้น “อ้วน” อย่างนี้ คนที่พูดประโยคนี้ มีบางคนที่ดูอ้วนจริงๆในสายตาคนภาพนอก แต่บางคนก็ผอมซะดูไม่ออกว่าอ้วนตรงไหน ไม่ว่าจะอ้วนจริง หรือว่าคิดไปเองว่าอ้วน วันนี้เรามีวิธีเช็คที่ชัวร์ ว่าคุณ “อ้วน” หรือไม่ ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

อ้วนหรือผอมกันแน่?

1 ) ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI)

BMI คือ?

BMI   คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนัก ต่อส่วนสูงของมนุษย์ ที่ใช้คำนวนน้ำหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่

วิธีการคำนวณง่ายๆ คือ  [น้ำหนัก (กก.)]  ÷  [ส่วนสูง (ม.)]
ตัวอย่างการคำนวณ

คุณ A  น้ำหนัก 50 กก. และ ส่วนสูง 160 ซม.(1.60 ม.)

ค่า BMI ของคุณ A

=   50 ÷ 1.60
=   50 ÷  (1.60 x 1.60)
=   19.53

เมื่อได้ค่า BMI แล้ว ก็นำมาวัดกับเกณฑ์ดัชนีมวลกายของชาวเอเชีย

  • ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 5 คือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดัชนีมวลกาย = 5 – 22.9 คือน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดัชนีมวลกาย = 23 – 24.9 คือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 คือเสี่ยงต่อโรคอ้วน

การที่มีดัชนีมวลกายสูงเกินไป อาจแปลว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานและโรคอื่นๆสูงตามไปด้วย แต่การวัดด้วยดัชนีมวลกาย ก็ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าคุณอ้วนได้ทั้งหมด เนื่องจากจุดสำคัญที่สุดในการวัด คือปริมาณไขมันที่ถูกเก็บสะสมอยู่ในร่างกาย ดังนั้นคนที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็อย่าเพิ่งดีใจไป คุณอาจจะมีไขมันมากแต่เนื้อน้อยก็ได้เพราะว่าไขมันนั้นเบากว่ากล้ามเนื้อ

สามารถดูได้ง่ายๆ จากคนที่ออกกำลังกายเยอะๆ จนร่างกายมีแต่กล้ามเนื้อเต็มไปหมด หรือพวกนักกล้ามที่แข็งแรงมากเนื้อตัวมีแต่กล้ามเนื้อและกระดูก คนแบบนี้อาจจะดูอ้วนในสายตาคนรอบข้าง แต่ที่จริงแล้วร่างกายเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อและไม่มีไขมันเลยก็ได้ แต่อาจจะถูกคำนวณออกมาว่าน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นจึงมีอีกวิธีหนึ่งในการตัดสินดูว่าคุณอ้วนหรือไม่ก็คือ

2) การวัดจาก “รอบเอว”

ในประเทศไทย กรมอนามัยกำหนดให้วัดผ่านสะดือ โดยมีหลักเกณฑ์ว่า

  • ผู้หญิง มีเส้นรอบเอว ≥32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร ถือว่าอ้วนลงพุง
  • ผู้ชาย มีเส้นรอบเอว ≥ 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร ถือว่าอ้วนลงพุง

การวัดรอบพุง อาจจะเป็นตัวแทนได้ถึงไขมันที่สะสมไว้ในช่องท้อง ถ้าปริมาณไขมันในตัวเรามีมากเกินไป อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคต่างๆได้

ดังนั้นคนที่วัดดัชนีมวลกาย และวัดรอบเอว แล้วผลออกมาว่าคุณน้ำหนักปกติไม่อ้วน ก็ขอแสดงความยินดีด้วย แต่ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ จนลืมดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง ส่วนคนที่น้ำหนักเกินหรืออ้วนแล้ว ก็ให้รีบหาวิธีลดพุงเอาไขมันออกจากร่างกายกันโดยด่วน ด้วยการกินผลไม้ลดน้ำหนัก หรือ การกินเมนูผักเพื่อสุขภาพ และก็อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หรือให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ที่มา : อินโนว่า แล็บโบราโทรี่