ฝังเข็ม วัยรุ่น เคล็ดลับหน้าใส

เตือนภัย การฝังเข็มหน้าใส-ลดอ้วน | ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม

Home / สุขภาพทั่วไป / เตือนภัย การฝังเข็มหน้าใส-ลดอ้วน | ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม

แพทย์จีนสุขใจ พนิชศักดิ์พัฒนา เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยสนใจการฝังเข็มมากขึ้น โดยเฉพาะการฝังเข็มทำให้หน้าใส ลดน้ำหนักและลดส่วนเกิน โดยมูลนิธิที่เปิดให้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีน 2 แห่ง คือ

1.สถาบันพรหม วชิรญาณ คลินิกการแพทย์แผนไทย-จีน สาขาวัดยานนาวา

2.ศูนย์พรหมวชิรญาณคลินิกการแพทย์แผนไทย-จีน สาขาม.เกษตรศาสตร์

ซึ่งสาขานี้มีผู้ใช้บริการเป็นวัยรุ่นถึงร้อยละ 70 รักษาโรคต่างๆ ได้อีกไม่น้อยกว่า 48 โรค โดยต้องทำโดยแพทย์แผนจีนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีน ซึ่งทั่วประเทศมีอยู่ราว 300 คนเท่านั้น และมีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยบางโรค เช่น มะเร็ง ตั้งครรภ์ โรคเลือด เป็นต้น

เตือนวัยโจ๋ฝังเข็มหน้าใส-ลดอ้วน

แพทย์จีนสุขใจกล่าวว่า การฝังเข็มจะทำให้เกิดผลการรักษา 2 ประการ คือ 1.ทำให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ ในร่างกายหลายชนิด รวมถึงฮอร์โมนต่างๆ ทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทำงานของระบบประสาท และสมอง ทำให้จิตแจ่มใส และ 2.กระตุ้นให้มีการปรับตัวระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมเส้นเลือดและการทำงานของอวัยวะ ช่วยรักษาภาวะที่อวัยวะต่างๆ และแขนขาขาดเลือดหล่อเลี้ยง การปรับการทำงานของอวัยวะเป็นแบบควบคุม 2 ทาง โดยหากอวัยวะทำงานมากเกินไป ก็จะทำให้ลดลง อวัยวะใดทำงานน้อยก็ปรับให้มากขึ้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม

การฝังเข็ม คือการใช้เข็มปักลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างการ โดยใช้หลักการของแพทย์แผนจีนที่มีมากกว่า 4000 ปี การฝังเข็มเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นเวลาหลายร้อยปี องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2538 ให้การรับรองโรคที่ใช้ฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาจำนวน 57 โรค

การฝังเข็มรักษาโรคให้หายได้ โดยผ่านจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณ ซึ่งเป็นเส้นทางไหลเวียนและลำเลียงของพลัง, เลือด และของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเชื่อมโยงอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้การไหลเวียนและลำเลียงไม่ติดขัด อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานประสานกลมกลืนกัน

แพทย์แผนปัจจุบันศึกษาเวชกรรมฝังเข็ม พบว่าการฝังเข็มมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อการหลั่งสารหลายชนิดในร่างการ ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้ดี การฝังเข็มรักษาโรคหายได้ รักษาโรคหายได้เพียงบางส่วน ควรใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอย่างอื่นๆ และที่สำคัญที่สุด คนไข้เองต้องปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจและอารมณ์กับสภาพสุขนิสัยในการดำรงชีวิต ให้อยู่ในภาวะสมดุล จึงจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้หายจากโรคอย่างสมบูรณ์ ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซียงไฮ้ ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 500 คนทั่วประเทศ

โดย นพ โกมล ภู่ถาวรทรัพย์ ผอ.รพ.เจริญศิลป์

องค์การอนามัยโลก (WHO)

ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีฝังเข็มไว้ดังนี้

1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัดเป็นพิเศษ

อาการปวด โรคปวดคอเรื้อรัง, หัวไหล่, ข้อศอก, กระดูกสันหลัง, เอว, หัวเข่า โรครูมาต้อยตริ่ง, ปวดจากการเคล็ดขัดยอก, ปวดประจำเดือน, ปวดนิ่วในถุงน้ำดี, ปวดศรีษะที่มีสาเหตุจากความเครียดหรือก่อนการมีประจำเดือน, ปวดไตเนื่องจากสาเหตุต่างๆ, ปวดในทางเดินปัสสาวะ, ปวดเส้นประสาทหรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า, ปวดหลังผ่าตัด, ปวดไม้ดำเกรน, อาการซึมเศร้า อาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้าเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง, ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ, สมรรถภาพทางเพศถดถอย, ภูมิแพ้, หอบหืด, หวาดวิตกกังวล, นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง, แพ้ท้อง, คลื่นเหียงอาเจียน, การเลิกเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด

2. การรักษาที่ได้ผลดี

อาการเจ็บเฉียบพลัน หรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอมซิล), อาการวิงเวียนศรีษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู, สายตาสั้นในเด็ก, เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) , โรคอ้วน, โรคประสาท, การปวดของเส้นประสาทสะโพก, เส้นเอ็นอักเสบ, ปวดลำไส้เนื่องจากพยาธิ, อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด

3. การรักษาที่ได้ผล

ท้องผูก, ท้องเดิน, การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายชาย, และฝ่ายหญิง, กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ, สะอึก, เรอบ่อย,ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง, ไซนัลอักเสบ, หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ

เข็มที่ใช้ฝัง

เข็มที่ใช้ฝัง เป็นเหล็กสแตนเลส ไม่เป็นสนิม มีขนาดเล็กและบางมาก ปลายเข็มไม่ตัด ไม่กลวงไม่มีรู ได้รับการทำความสะอาดจนปลอดเชื้อ และบรรจุแผงจากโรงงาน ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลยไม่นำกลับมาใช้อีก ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์

ความรู้สึกขณะฝังเข็ม

เจ็บเล็กน้อย เมื่อเข็มผ่านผิวหนัง หายเจ็บ เมื่อถึงชั้นใต้ผิวหนัง ชา, ตื้อ, หนัก ร้าว เมื่อถึงจุดฝังเข็มไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ

ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติ และพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ

2. ใส่เสื้อ กางเกง ที่หลวม พับเหนือข้อศอกและเข่าได้ ไม่สวมถุงน่องในสตรี

3. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายไม่เกร็ง การฝังเข็มในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด

2. โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด

3. โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน