เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น ร่างกายของเราก็จะเสื่อมสภาพตามไปด้วย ถ้าเราไม่มีการดูแลร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย ฯลฯ แต่รู้ไหมถึงอวัยวะบางส่วนจะเสื่อมตามอายุ แต่ก็มีอวัยวะบางส่วนที่ซ่อมแซมตัวเองได้
7 อวัยวะ ที่ร่างกายสามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง
1. ตับ
ตับเป็นอวัยวะที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูตัวเอง แทนที่จะทำให้เกิดแผลเป็นจากเนื้อเยื่อที่เสียหายเช่นเดียวกับอวัยวะส่วนใหญ่ แต่ตับสามารถแทนที่เซลล์เก่าเหล่านั้นด้วยเซลล์ใหม่เพื่อทำการรักษา
ซึ่งนี่ยังเป็นกระบวนการที่รวดเร็วด้วย แม้หลังจากที่กำจัดออกไป 70% แล้วก็ยังสามารถงอกใหม่ได้ภายใน 2 สัปดาห์
2. ลำไส้
ในทุกๆ วันลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของเราต่างทำงานหนักเพื่อย่อยอาหาร เยื่อบุผิวในลำไส้ทำหน้าที่เป็นตัวกรองสารพิษขณะดูดซึมสารอาหาร
ซึ่งหากไม่มีกระบวนนี้เชื้อโรคจะสามารถเข้าไปในลำไส้และทำให้เราไม่สบาย เพื่อความแข็งแรงร่างกายจะผลัดเซลล์เยื่อบุผิวเก่าและแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่ ซึ่งงอกขึ้นใหม่ในทุก 5-7 วัน
3. กระดูกงอกขึ้น
ไม่ใช่การสร้างกระดูกใหม่หลังจากที่เกิดกระดูกหัก แต่เป็นการทำให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางเพื่อรักษาได้ง่ายขึ้น หลังจากได้รับบาดเจ็บภายในไม่กี่ชั่วโมงร่างกายของเรากำลังเริ่มซ่อมแซมกระดูกที่หักโดยการสร้างลิ่มเลือดเพื่อชำระล้างบาดแผล
หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์หรือสองวันร่างกายจะแทนที่ลิ่มเลือดนั้นด้วยแคลลัสแบบอ่อนที่สร้างขึ้นมาจากคอลลาเจน ภายในสามสัปดาห์ต่อมาร่างกายจะเพิ่มแร่ธาตุในแคลลัสเพื่อทำให้แข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็นกระดูกใหม่ เมื่อกระดูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์จะใช้เวลา 3-9 ปีในการกลับสู่รูปร่างเดิม
4. ผิวหนัง
ผิวหนังสร้างขึ้นมาจากหลายเลเยอร์ จากชั้น 18 ถึงชั้น 23 ของเซลล์เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว และมีประมาณ 30,000 ถึง 40,000 ของเซลล์เหล่านี้ที่ผลัดออกมาทุกวันในขณะที่เซลล์ใหม่สร้างขึ้นที่ด้านล่างของชั้นผิวหนังด้านนอก
หนึ่งเดือนต่อจากนี้ เซลล์ทั้งหมดที่คุณเห็นจะหลุดลอกออกไปและจะมีเซลล์ใหม่เข้ามาแทนที่ แต่สำหรับรอยสักหรือรอยแผลเป็นจะไม่มีการจางหายเพราะอยู่ในชั้นผิวที่ลึกกว่านั้น
5. ดวงตา
กระจกตาที่อยู่ชั้นนอกของดวงตามีการรีเฟรชตัวเองตลอดเวลา ซึ่งใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ถึง 10 วันสำหรับการแทนที่ชั้นผิวกระจกตาโดยหลั่งเซลล์เก่าในรูปแบบของน้ำตา และเมื่อคุณขยี้ตาจะยิ่งเป็นการเร่งให้กระบวนการทำงานนี้ไวยิ่งขึ้น
6. ปอดฟื้นตัวหลังจากสูบบุหรี่
ในปอดมีขนเล็กๆ ที่เรียกว่าซีเลียทำหน้าที่โบกพัดเสมหะหรือสิ่งสกปรกไปที่คอหอย แต่เมื่อสูบบุหรี่จะไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้จึงเป็นเหตุให้เกิดเสมหะและน้ำมูก ขณะที่สารระคายเคืองจากควันทำให้เกิดการอักเสบและบวม
การเลิกสูบบุหรี่ไม่สามารถทำให้ส่วนที่เสียหายกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ แต่ปอดสามารถฟื้นฟูปัญหาในระดับพื้นผิวได้ โดยภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากสูบบุหรี่ครั้งสุดท้าย สารสกปรกเหนียวๆ ในปอดจะเริ่มคลายตัวลง
และผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะเริ่มมีอาการไอ และเนื่องจากอาการปอดบวมลดลง การหายใจจึงง่ายขึ้นและผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะรู้สึกหายใจถี่น้อยลงภายในเวลา 2 สัปดาห์
7. สมองสร้างการเชื่อมต่อใหม่
นักวิจัยกำลังศึกษาเกี่ยวกับ Neuroplasticity การยืดหยุ่นและการปรับตัวของสมอง ซึ่งจะช่วยให้สมองเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างเซลล์ประสาท ทำการสร้างวงจรใหม่ขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้รับบาดเจ็บ
ส่วนอื่นของสมองก็ยังสามารถใช้การได้อยู่เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสมอง สามารถฟื้นตัวในการพูดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการช่วยเหลือของการทำกายภาพบำบัด
ที่มา : www.scholarship.in.th, www.rd.com