กลัว กลัวที่มืด โรค โรคแพนิค

ประเภทของโรคกลัว ที่มักเห็นบ่อยๆ – กลัวที่แคบ กลัวความมืด กลัวความสูง ฯลฯ

Home / สุขภาพทั่วไป / ประเภทของโรคกลัว ที่มักเห็นบ่อยๆ – กลัวที่แคบ กลัวความมืด กลัวความสูง ฯลฯ

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัว มักจะมีอาการทางกายเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มือเย็น , เหงื่อออกมาก ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตาลาย ความดันโลหิตพุ่งพรวด เวียนหัว ปากแห้ง หายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง ร้อนวูบวาบ ตัวสั่น ปั่นป่วนในท้อง กลัวจนคุมสติไม่อยู่ รู้สึกหนาวสั่นไปทั้งตัว คลี่นไส้ อาเจียน  หน้ามืด เป็นลม ปวดศีรษะ  ช็อก แน่นหน้าอก หรือบางคนอาจรู้สึกเจ็บหน้าอก รู้สึกอยากเข้าห้องน้ำเฉียบพลัน บางรายอาจมีปัสสาวะราด เลอะเลือน ขาดสติ

ประเภทของโรคกลัว ที่มักเห็นบ่อยๆ

โรคกลัวยังมีอีกมากมายหลายโรค กลัวมาก กลัวน้อย แต่อาการก็มักจะเกิดตามที่เราได้บอกไปข้างต้น คนเราไม่เหมือนกัน มีประสบการณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกัน ประเภทของโรคกลัวที่มักจะได้เห็นหรือได้ยินบ่อยๆ ดังนี้

โรคกลัวที่แคบ

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) บางคนที่กลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น กลัวลิฟท์ กลัวการเดินเข้าอุโมงค์ บางคนเป็นมากถึงขนาดไม่สามารถนั่งหรือยืนอยู่ในที่แคบๆ หรือแออัดได้เลย เพราะจะมีอาการแน่นหน้าอก มือเย็น ตาลาย หายใจไม่ออกขึ้นมาทันที

โรคกลัวรู

โรคกลัวรู หรือทริโปโฟเบีย (Trypophobia) คือ ภาวะของคนที่มีอาการหวาดกลัว กระอักกระอ่วน ขยะแขยง ไม่อยากเข้าใกล้วัตถุที่มีลักษณะที่เป็นรูกลวงโบ๋ หรือเม็ดที่โผล่ออกมาจากรู ไม่ว่าจะเป็นรูที่เกิดจากธรรมชาติ ผิวหนังมนุษย์หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าเห็นแล้วจะรู้สึกคันๆ ขนลุก บางคนก็ตัวสั่น เข่าอ่อน อาเจียน บางคนถึงกับช๊อคไปเลยก็มี / Link : โรคกลัวรู ภาวะที่น่ากลัวกว่าที่คุณคิด

โรคกลัวความสูง

อาการที่เกิดขึ้นคือ กลัวการขึ้นไปบนที่สูงทุกชนิด เดินขึ้นบันไดหรือขึ้นสะพานลอยก็รู้สึกกลัวจนขาสั่น ก้าวขาไม่ออก ต้องหาที่ยึดเหนี่ยวไว้ ไม่กล้าเข้าลิฟต์ในตึกสูง บางคนกลัวจนเกิดอาการตื่นกลัว เวียนหัว คลื่นไส้วิงเวียนตาลาย ซึ่งทำให้ใช้ชีวิตลำบากมาก

โรคกลัวความมืด

หลายคนหวาดกลัวความมืด กลัวตอนกลางคืน ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องเปิดไฟให้สว่าง หรือต้องมีคนอยู่เป็นเพื่อน ไม่ชอบอยู่คนเดียว คนที่กลัวกลางคืนหรือความมืดอาจมีประสบการณ์ ชีวิตไม่ดีเกี่ยวกับกลางคืนหรือความมืดมาก่อน เช่น ถูกทิ้งให้อยู่ลำพังตอนวัยเด็ก รู้สึกอ้างว้างว้าเหว่ หรือถูกทำร้าย ทรมาน หวาดกลัวในเวลาค่ำคืนมาก่อน จึงเป็นประสบการณ์ฝังใจ

โรคกลัวตุ๊กตา

โรคกลัวตุ๊กตา หรือที่เรียกว่า “pediophobia” โดยปฏิกิริยาของผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะมีอาการกลัวตุ๊กตาที่ลักษณะเป็นรูปคน เพราะจิตใต้สำนึกของผู้ที่มีสภาวะโรคกลัวตุ๊กตา มักจะคิดว่าเหล่าตุ๊กตานั้นเหมือนกับคนที่มีชีวิตจริงๆ หรือบางคนอาจจะคิดว่ามันเหมือนพวกตุ๊กตาผีแบบ Chucky หรือ แอนนาเบลที่มีตุ๊กตาผีสิงอันแสนน่ากลัวนั่นเอง / Link โรคกลัวแปลกๆ

โรคกลัวความสกปรก

บางคนกลัวความสกปรก กลัวเชื้อโรคจากการหยิบจับสิ่งของและการสัมผัสผู้อื่น มักจะหลีกเลี่ยงการจับของในที่สาธารณะ ชอบล้างมือซ้ำๆ บางคนเป็นหนัก ๆ ล้างจนมือถลอกเลยก็มี // Link คุณเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือเปล่า

โรคกลัวสัตว์

ที่จริงก็มีสัตว์หลายชนิดที่ควรกลัว เพราะเป็นสัตว์ที่มีอันตราย เช่น งู ตะขาบ จระเข้ แมลงมีพิษ แต่ถ้ามีอาการกลัวสัตว์เหล่านี้อย่างรุนแรง จนกระทั่งแม้แต่เห็นภาพสัตว์เหล่านี้ในหนังสือหรือโทรทัศน์ก็เกิดอาการกลัว ใจสั่นกลัวจนจะเป็นลม อันนี้ถือว่าเป็นความกลัวที่ผิดปกติ หรือบางคนอาจจะมีอาการกลัวสัตว์ที่ไม่ควรจะกลัวมากจนผิดปกติ เช่น กลัวนก กลัวไก่ กลัวแมว กลัวจิ้งจก กลัวผีเสื้อ

โรคกลัวเลือด

อาการของคนกลัวเลือดนี้ จะมีอาการคือเห็นเลือดไม่ได้เลย แม้แต่แค่ตนเองมีเลือดออกเพียงนิดเดียวหรือแค่เห็นเลือดของคนอื่น ก็จะรู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้วิงเวียน จะเป็นลม บางคนเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นช็อกจนหมดสติได้เช่นกัน

โรคกลัวเสียงดัง

ความกลัวเมื่อได้ยินเสียงดังจากล้อรถแตก ประทัด กลัวเสียงบีบแตร เสียงฟ้าร้องฟ้าฝ่า เสียงฝนตก ฯลฯ บางคนเป็นมากถึงขนาดใครพูดเสียงดังก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นแล้ว

5 โรคแปลกแต่จริง แม้แต่หมอยังงง!

แปลก โรคประหลาด

ความกลัวไม่เข้าใครออกใคร! มาดู สารพัดความกลัวแปลกๆ ของ ดาราไทย

ความกลัว ดาราไทย

อาการแพนิค

แพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนกอย่างรุนแรง อาการแพนิคสามารถพบได้ในโรคอื่น ๆ เช่น โรคกลัวการเข้าสังคม (Social phobia) ที่เมื่อผู้ป่วยต้องพูดกับคนแปลกหน้า อาจจะกลัวจนมีอาการแพนิคเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่ได้กลัวว่าจะมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอีกหรือกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นข้อแตกต่าง / Link : โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนกอย่างรุนแรง

ที่มา Health.MThai.commgronline.com , Kapook.com

กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด ขาดแสง ขาดอากาศ ขาดน้ำ ขาดอาหาร ได้นานสุดเท่าไหร่?

ถ้ำหลวง วิทยาศาสตร์

บทความแนะนำ