ดวงตา สายตายาว

ไขข้อสงสัย สายตายาว เกิดจากอะไร? – อาการที่พบบ่อยในผู้ที่สายตายาว

Home / สุขภาพทั่วไป / ไขข้อสงสัย สายตายาว เกิดจากอะไร? – อาการที่พบบ่อยในผู้ที่สายตายาว

คนเราจะมองเห็นได้ชัดเจนดี เมื่อสุขภาพตาและสายตาปกติ เมื่อพูดถึงสายตาปกติโดยทั่วไปเราจะนึกถึงโครงสร้างลูกตาที่สร้างมาได้รูป ช่วยให้แสงจากวัตถุที่อยู่ระยะไกลผ่านกระจกตาและเลนส์แก้วตาไปโฟกัสพอดีบนจอประสาทตา จากนั้นจอประสาทตาจะส่งภาพในรูปของคลื่นไฟฟ้าไปยังสมอง เพื่อแปลเป็นภาพที่เราเห็นได้ชัดเจนนี่คือสายตาปกติ แต่คนส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาภาวะ สายตายาว มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หากคุณมีปัญหาสายตายาว มีความเป็นไปได้สูงที่มีคนอื่นในครอบครัวที่มีปัญหานี้เช่นเดียวกัน

ไขข้อสงสัย สายตายาว เกิดจากอะไร?

สายตายาว (Hyperopia) เป็นความบกพร่องของสายตาที่พบเห็นได้ทั่วไป คือ ภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติ โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมีลูกตาเล็กหรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล

ซึ่งสายตายาวในทางการแพทย์ หมายถึง อาการสายตายาวที่เกิดตั้งแต่อายุยังน้อยยังไม่ถึงวัยสูงอายุ และสายตายาวที่เกิดขึ้นเมื่อถึงวัยสูงอายุ (อายุ 40 ปีขึ้นไป) เรียกว่า สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia) โดยส่วนใหญ่สายตายาวจะเป็นตั้งแต่กำเนิดและมักจะพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม สายตายาวไม่ได้เป็นภาวะที่อันตรายหรือรุนแรง และสามารถแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการใส่แว่น ใส่คอนแทคเลนส์หรือรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นต้น

สายตายาว

ภาพจาก : @flemmingfuchs

อาการที่พบบ่อยของผู้ที่สายตายาว ได้แก่

– มองเห็นวัตถุระยะใกล้ได้ไม่ชัด เช่น อ่านหนังสือ หรือร้อยด้ายกับเข็ม

– เกิดอาการไม่สบายตาหรือปวดศีรษะจากการที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือวาดภาพ

– มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน

ภาพ : @ewan121

– ปวดศีรษะ เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไปจากการโฟกัส มักจะปวดบริเวณหน้าผาก และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อใช้สายตามากขึ้น มักไม่มีอาการในตอนเช้า แต่จะปวดศีรษะในตอนเย็น และถ้างดใช้สายตามองระยะใกล้ อาการปวดก็จะหายไป

– ปวดตาหรือบริเวณรอบดวงตา

– แสบตาหรือตาสู้แสงไม่ได้

– ต้องหรี่ตาเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน

– มองใกล้ไม่ชัดเร็วกว่าวัยอันควร หรือมีอาการของสายตาผู้สูงอายุเร็วกว่าคนทั่วไป โดยคนทั่วไปจะมีภาวะสายตาผู้สูงอายุเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่มีสายตายาวอยู่ก่อนแล้วอาจจะเกิดภาวะสายตาสูงอายุเร็วขึ้น โดยในระยะแรกการมองใกล้ไม่ชัดมักเกิดเมื่อร่างกายอ่อนล้าหรือเมื่อแสงไม่พอ

ข้อมูลโดย : ktoptic

บทความแนะนำ