กินผิดวิธี ข้อเสีย ดูแลสุขภาพ ตับ พาราเซตามอล

ข้อเสียของการกิน พาราเซตามอล – กินพร่ำเพรื่อ ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง

Home / สุขภาพทั่วไป / ข้อเสียของการกิน พาราเซตามอล – กินพร่ำเพรื่อ ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง

ใครๆ ก็มีติดบ้าน ติดกระเป๋าไว้กินประจำ เพราะข้อดีของพาราเซตามอลคือแก้ปวดและไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่แท้จริงแล้วมีผลข้างเคียงที่อันตรายมากคือ การเกิดพิษต่อตับ หากใช้เกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานเกินไป ถึงแม้ว่าจะเป็นยาที่มีความปลอดภัยในการใช้ก็ตามค่ะ

ข้อเสียของการกิน พาราเซตามอล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวด ลดไข้ เป็นยาที่คนไทยซื้อรับประทานเองมากที่สุด พฤติกรรมการซื้อยาเองอย่างพร่ำเพรื่ออาจส่งผลไปสู่การรับประทานยาเกินขนาด การดื้อยา และปัญหาสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ สอดคล้องกับรายงานของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า มูลค่าการบริโภคยาของคนไทยในปี 2553 ทั้งยาแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ เฉลี่ย 128 ล้านเม็ดต่อวัน โดยอาการป่วยที่เป็นสาเหตุให้หาซื้อยาเองเพื่อรักษานั้น ได้แก่ ปวดหัว ตัวร้อน และปวดเมื่อยตามร่างกาย คือพาราเซตามอลนั่นเอง

คำแนะนำสำหรับการใช้ยา คือ สำหรับผู้ใหญ่ให้รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานเกินกว่า 8 เม็ดต่อวัน และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนาน 7 วัน เพราะจะส่งผลอันตรายต่อตับ และห้ามใช้กับสัตว์เพราะจะเกิดความเป็นพิษสูงโดยเฉพาะสุนัขและแมว

ภาวะตับเป็นพิษจากพาราเซตามอล

เกิดจากตัวยาจะผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึม และถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสาร NAPQI ซึ่งถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะออกซิเดชันสเตต ซึ่งทำให้เซลล์ตับเสียหายได้ ถ้าตับนั้นไม่มีความสามารถที่จะกำจัดออกได้อย่างทันท่วงที ภาวะนี้เกิดได้จากการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันและได้รับยาเกินขนาด

ข้อเสียของการกิน พาราเซตามอล

ข้อเสียของการกินพาราเซตามอล – กินพร่ำเพรื่อส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง

งานวิจัย …

ล่าสุดมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ตีพิมพ์ถึงคุณสมบัติของ “ทอรีน” นอกจากจะช่วยบำรุงสายตาแล้ว ยังช่วยป้องกันความเป็นพิษของยาที่มีต่อตับ ซึ่งทอรีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมของเหลวในเซลล์, ควบคุมระดับการเข้าออกของแคลเซียมระหว่างเซลล์ และสามารถป้องกันความเป็นพิษและความผิดปกติที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ และรักษาความเป็นพิษของตับที่เกิดจากการรับประทานยาได้ แต่เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้งค่ะ

บทความแนะนำ