ความเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาทางเพศ โรคทางจิตเวช ไบเซ็กช่วล

โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง ดูแล และรักษาอย่างไร?

Home / เพศศึกษา / โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง ดูแล และรักษาอย่างไร?

ปัจจุบันมีผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย และส่วนใหญ่คิดว่า จิตเวช คืออาการบ้า นั่นอาจเป็นเพราะเคยเห็นผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการขั้นรุนแรงแล้วตัดสินว่าโรคจิตเวชทุกโรคคือ “บ้า” ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วย บางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวช กับปัญหาพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งจริงๆ แล้ว ความผิดปกติทางเพศ (Sexual disorder) หมายถึง การมีความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม รวมไปถึงพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไปไม่เหมาะสม เบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไปในสังคมนั้นๆ เรามาดูกันว่า ความคิดอารมณ์และพฤติกรรมแบบใดที่เข้าข่ายโรคทางจิตเวช และปัญหาทางเพศ มีอะไรบ้าง

พฤติกรรมทางเพศ ที่พบบ่อยๆ มีดังนี้

โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง

ปัญหาเอกลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity Disorders)

1. รักร่วมเพศ (Homosexualism) เป็นไปในทางตรงกันข้าม การแสดงออกจะเป็นแบบเบี่ยงเบนทางเพศ เช่นแต่งกายเหมือนเพศตรงข้าม กริยาท่าทาง การพูดจา กิจกรรมที่ทำ และที่สำคัญที่สุด คือ ความพึงพอใจทางเพศ จะมีความรู้สึก อารมณ์เพศกับเพศเดียวกัน

เพศชาย เรียกว่า เกย์ (gay) เกย์ยังมีสองแบบ คือ เกย์คิง และเกย์ควีน เกย์คิงจะดูเหมือนผู้ชายมาก เกย์ควีนจะแสดงออกเป็นเพศตรงข้ามให้เห็นชัดเจน

เพศหญิง เรียกว่า เลสเบี้ยน (lesbian) ซึ่งก็มีสองแบบเช่นกัน คือ ทอม และ ดี้ ดี้จะเหมือนผู้หญิงมาก ทอมจะแสดงออกเหมือนผู้ชาย ทำให้ดูออกได้จากลักษณะกิริยาภายนอก

ทั้งเกย์และเลสเบี้ยน อาจมีความพึงพอใจได้กับทั้งสองเพศ เรียกว่า ไบเซ็กช่วล (bisexualism) แต่ส่วนใหญ่ ไบเซ็กช่วล มักจะมีความพึงพอใจทางเพศกับเพศเดียวกันมากกว่า

2. ความผิดปกติในเอกลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity Disorder) มีลักษณะสำคัญคือ คิดว่าตัวเองเป็นเพศตรงข้ามมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะรู้สึกรังเกียจอวัยวะเพศของตนเอง จนต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ

การรักษา ทั้งสองประเภทไม่สามารถรักษาได้ ควรทำความเข้าใจ และให้ความเข้าใจมากกว่า

การป้องกัน พ่อแม่เลี้ยงดูลูกอย่างอบอุ่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศ โดยเฉพาะพ่อกับลูกชาย และแม่กับลูกสาว ครูและเพื่อนไม่ส่งเสริมให้มีการแสดงออกผิดเพศ

โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง ดูแล และรักษาอย่างไร?

กามวิปริต (Paraphilias)

อาการสำคัญคือ มีความรู้สึกทางเพศกับสิ่งกระตุ้นที่ผิดธรรมชาติ มีหลายประเภท ดังนี้

  1. Exhibitionism ชอบอวดชอบโชว์ แก้ผ้าโชว์อวัยวะเพศตนเอง
  2. Fetishism ใช้ชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ หรือวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ของเพศตรงข้าม
  3. Frottuerism ชอบใช้อวัยวะเพศถูไถ มักใช้สถานที่คนแน่นเบียดเสียดยัดเยียดกัน
  4. Voyuerism ชอบแอบดู ต้องแอบดู จึงจะเกิดความรู้สึกทางเพศ
  5. Pedophilia ชอบเด็ก ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่ยังไม่เป็นวัยรุ่น
  6. Sadism ชอบทำร้ายคู่ของตน จึงจะมีความตื่นเต้นทางเพศ
  7. Masochism ชอบถูกทำร้ายจึงจะมีความตื่นเต้นทางเพศ
  8. Telephone scatalogia โทรศัพท์ลามก เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศ
  9. Zoophilia ชอบสัตว์ ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับคนได้ มีได้กับสัตว์เท่านั้น
  10. Coprophilia, Urophilia ชอบอุจจาระ, ปัสสาวะ มากระตุ้นตัวเอง จึงจะเกิดความรู้สึกทางเพศได้

การรักษา ความผิดปกติแบบนี้ รักษายาก การป้องกันสำคัญกว่าการรักษา

การป้องกัน การเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการทางเพศอย่างถูกต้อง พ่อแม่มีทัศนคติที่ดี ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่ให้เด็กเก็บกดทางเพศ หรือเห็นเรื่องเพศเป็นเรื่องเลวร้ายสกปรกจนเกินไป ให้ความรู้ทางเพศอย่างถูกต้อง

โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง ดูแล และรักษาอย่างไร?

การตอบสนองทางเพศผิดปกติ (Psychosexual Dysfunctions)

อาการสำคัญ คือการตอบสนองเวลามีเพศสัมพันธ์ผิดปกติ เกิดได้กับทั้งเพศชายและหญิง

  1. ปากอ่าว (Immature Ejaculation) เมื่อเริ่มสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในช่องคลอด ก็ถึงจุดสุดยอดอย่างรวดเร็ว พบบ่อยที่สุด
  2. นกเขาไม่ขัน (Erectile Dysfunction ED or Impotence) มีความรู้สึกและความต้องการทางเพศ แต่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานเพียงพอ
  3. หมดความสนใจทางเพศ (Loss of Sexual Desire)
  4. ช่องคลอดหดเกร็ง (Vaginismus) เวลามีเพศสัมพันธ์จะกลัวจนกล้ามเนื้อช่องคลอดเกร็ง ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปได้ หรือ เกิดความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

การรักษา จิตแพทย์สามารถให้การรักษาได้ผลดี โดยการใช้วิธีพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา (โดยเฉพาะ นกเขาไม่ขัน ยาได้ผลดีมาก) และการให้ความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง

การป้องกัน ควรมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อเรื่องเพศ ให้ความรู้เรื่องเพศแก่เด็กตามวัย

โรคทางจิตเวช และปัญหาพฤติกรรมทางเพศ มีอะไรบ้าง ดูแล และรักษาอย่างไร?

ส่วน โรคทางจิตเวช ได้แก่

  1. โรคเครียด /โรคจิต / โรคประสาท,โรคกังวล / โรคกลัว / โรคอารมณ์แปรปรวน, โรคมาเนีย-ซึมเศร้า
  2. โรคสมองเสื่อม โรคปัญญาอ่อน
  3. โรคติดสารเสพติด ติดอ่าง
  4. โรคบุคลิกภาพผิดปกติ
  5. โรคสมาธิสั้น
  6. โรคติดการพนัน / ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
  7. ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย

written by : TuTee

ข้อมูลจาก psyclin.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง