เคยมั้ย คิดงานยังไงก็คิดไม่ออก หัวมันตื้อมันตันไปหมด! ลุกไปข้างนอกก็แล้ว พักเล่นเกมก็แล้ว ก็ยังคิดไม่ได้อยู่ดี ถ้าใครทำทุกวิธีแล้วยังไม่เวิร์ก ลองแอบไปงีบดูสิ แต่ก็ต้องมีศิลปะในการงีบกันหน่อยนะ เพราะถ้างีบผิดเวลาก็อาจจะทำให้ยิ่งพังหนักกว่าเดิมก็ได้ ไปดูิธี งีบแบบไหน ให้สมองแล่น? กันได้เลยจ้า
งีบกี่นาที มีผลต่อร่างกายยังไงบ้าง?
10-20 นาที
งีบเพิ่มพลังงาน และความสดชื่น เพราะระยะเวลา 10-20 นาที จะทำให้การนอนของเราอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM) ซึ่งจะทำให้ร่างกายสดชื่น ตื่นมาแล้วจะไม่สะลึมสะลือ เป็นการงีบเพื่อเพิ่มพลังงาน เหมาะกับคนที่ต้องการตวามแอคทีฟ หรือคนที่ต้องการจะใช้แรงกายมากกว่าใช้สมอง หรือลุกขึ้นมาทำโน่นทำนี่ได้อย่างคล่องแคล่ว เรียกการงีบแบบนี้ว่า “power nap”
30 นาที
สำหรับการนอนครึ่งชั่วโมง จะไม่แนะนำเท่าไหร่นัก เพราะไม่เป็นผลดีต่อร่างกายของเรา ไม่ได้ช่วยให้หายง่วง หรือสดชื่นขึ้นแต่อย่างใด จากการวิจัยพบว่า หลังจากตื่นขึ้นมา จะมีอาการอึน ๆ มึนงง และยังง่วง ๆ อยู่ หรือบางทีอาจปวดหัว และกว่าอาการนี้จะหายไปก็ต้องรอไปอีกครึ่งชั่วโมง
60 นาที
การนอนประมาณ 1 ชั่วโมง จะส่งผลดีต่อสมองของเรา ทำให้ความจำดีขึ้น เพราะเป็นการนอนที่ทำให้เราอยู่ในช่วง “slow-wave sleep” เป็นช่วงที่เราจะหลับลึกที่สุด แต่ก็จะตื่นขึ้นมาแบบงง ๆ เบลอ ๆ สักพัก แต่หลังจากนั้น สมองก็จะจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เหมาะกับคนที่จะโต้รุ่งอ่านหนังสือในคืนก่อนสอบ
90 นาที
ในระยะเวลา 90 นาที จะเป็นการนอนที่ครบ 1 รอบพอดี นั่นหมายถึง ในเวลา 90 นาทีนี้ จะมีทั้ง หลับลึก และหลับแบบสบาย ๆ รวมทั้ง REM stage (Rapid Eye movement) ซึ่งเป็นระยะที่คนเรามักจะฝัน การนอนในระยะเวลานี้ทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น หัวแล่น สมองปลอดโปร่ง และที่สำคัญคือช่วยให้ความจำดีขึ้น แถมพอตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่น ไม่มีอาการงัวเงียให้เห็นอีกด้วยนะ
บทความแนะนำ
- เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในโลก
- 5 วิธีทำให้สมองฟิต ไอเดียปิ๊งตลอดเวลา | เปลี่ยนวันธรรมดาให้แปลกไป
- 7 พฤติกรรม อย่าทำก่อนนอน ถ้าอยากตื่นมาพร้อมความสดชื่น
- 5 โทษ ของการเล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอน | ใครติดมือถือ ควรอ่าน
- เตือนภัยวัยรุ่นที่ชอบอดนอน !! อดนอนทำให้อ้วน เพิ่มเสี่ยงมะเร็ง