การนอนหลับ นอนกลางวัน ประโยชน์ พักผ่อน

นอนกลางวัน มีประโยชน์ มากกว่าที่คิด – สดใส หัวไบร์ท ลดความเสียงโรคต่างๆ

Home / สุขภาพทั่วไป / นอนกลางวัน มีประโยชน์ มากกว่าที่คิด – สดใส หัวไบร์ท ลดความเสียงโรคต่างๆ

การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ “การนอนหลับ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้พัก หลังจากที่ทำงานอย่างหนักมาตลอดทั้งวัน โดยการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสม จะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ >> อายุกับการนอนหลับให้เพียงพอ – คนในแต่ละช่วงอายุ ต้องนอนหลับนานเท่าไร ถึงจะพอ? โดยการนอนหลับพักผ่อน ไม่จำเป็นที่จะต้องนอนในเวลากลางคืนเท่านั้น ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่ระบุว่า ‘การนอนกลางวันหรือการงีบหลับในตอนกลางวัน มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก’ แต่จะต้องนอนให้ถูกวิธี เพื่อให้ไม่กระทบกับการนอนปกติในเวลากลางคืน (นอนกลางวัน มีประโยชน์)

นอนกลางวัน มีประโยชน์

ในประเทศญี่ปุ่นและบางประเทศฝั่งตะวันตก สนับสนุนให้บุคลากรของแต่ละองค์กรมีการนอนกลางวันเป็นเวลาไม่เกิน 30 นาที บางองค์กรจัดห้องประชุมให้นั่งหลับ จัดเตรียมหมอนรองคอ หรือแล้วแต่ทางองค์กรสนับสนุน หน่วยงานเหล่านี้พบว่า บุคลากรของตนมีความสดชื่นกระตือรือร้นมากขึ้นหลังจากการนอนกลางวัน การนอนกลางวันเปรียบเสมือนการพักสมองหรือร่างกายที่เมื่อยล้าหรือใช้งานหนักมาในช่วงเช้า แต่การนอนกลางวันนั้นร่างกายจะไม่สร้างโกรทฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เหมือนการนอนในเวลากลางคืน แต่เป็นการนอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง หรือชาร์จแบตสมองเท่านั้น

ระยะเวลาในการนอน

  • การนอนกลางวันควรหลับในช่วงเวลา 13.00-15.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีความตื่นตัวลดลง และไม่ควรนอนหลังจากบ่าย 3 โมง เพราะอาจทำให้ความอยากนอนในช่วงเวลากลางคืนลดลง ส่งผลให้นอนไม่หลับได้
  • ควรนอนเป็นระยะเวลา 10-40 นาที เท่านั้น! เพราะหากนอนเป็นเวลานานเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโตเกียว ปรนะเทศญี่ปุ่น พบว่าการนอนกลางวันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงร้อยละ 56

นอนกลางวันดีอย่างไร?

  • ลดความเครียด ช่วยให้สมองสดใส คิดงานง่ายขึ้น เมื่อสมองได้พักก็เปรียบเสมือนการรีเซ็ตความคิดใหม่ คล้ายกับการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่าคอมฯ ที่เปิดใช้งานมาเป็นเวลานาน
  • สมองตื่นตัวมากขึ้น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น จากงานวิจัยของ ดร. ฮาร์วี ไซมอน ผู้ก่อตั้งวารสาร Harvard Men’s Health Watch พบว่า ผลการศึกษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 200 คน ที่ทำงานวันละ 9 ชั่วโมง รวม 8 วัน พบว่า คนที่ได้งีบหลับวันละ 40 นาที จะมีความตื่นตัวและประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น อีกการศึกษาหนึ่งพบว่ากลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะ ที่ได้งีบหลับวันละ 20 นาที จะมีความตื่นตัว ประสิทธิภาพ ทักษะ และอารมณ์ดีขึ้น
  • สมองจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี รวมถึงจดจำคำพูด การรับรู้สิ่งต่างๆ หรือทักษะการเคลื่อนไหวได้ดี
  • เพิ่มความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น ทำงานต่อ ไปออกกำลังกาย
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
  • ช่วยให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยให้อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์
  • ช่วยลดความดันโลหิตได้ จากงานวิจัยใน The Journal of Applied Physiology พบว่า การงีบหลับเป็นประจำ มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการตายจากโรคหัวใจมากถึง 37%
  • ในผู้สูงอายุ การนอนกลางวันบวกกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น การเดินหรือการยืดกล้ามเนื้อ ในช่วงเย็น จะช่วยให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กก่อนวัยเรียน และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งที่ควรทำในการนอนกลางวัน

  • ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนนอน เพราะโดยปกติร่างกายจะย่อยอาหารในขณะที่ยืนหรือนั่งอยู่ หากเป็นไปได้ควรนอนกลางวันก่อนรับประทานอาหาร หรือนอนหลังจากรับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง
  • นอนในที่ที่มีสภาพแวดล้อมผ่อนคลาย เช่น นอนในห้องมืด ไม่มีสิ่งรบกวน เงียบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน เป็นต้น
  • ไม่ควรนอนในท่าที่สบายจนเกินไป เพราะอาจทำให้หลับยาว
  • อาจสวมใส่ผ้าปิดตาหรือที่อุดหูขณะหลับ เพื่อช่วยให้นอนกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนนอน เพื่อจำกัดการนอนกลางวันไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมง
  • หลังจากตื่นนอน ควรออกไปเดินรับแสงแดดเพื่อตั้งนาฬิกาชีวิตใหม่อีกครั้ง และควรเว้นช่วงให้ร่างกายตื่นตัวก่อนกลับไปทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องอาศัยการตอบสนองแบบฉับพลัน

โทษจากการนอนกลางวันมากเกินไป

  • หากนอนกลางวันเป็นเวลานานเกินไป เมื่อตื่นก็จะยิ่งรู้สึกง่วงมากขึ้น และต้องใช้เวลานานกว่าร่างกายจะกลับมาตื่นตัวพร้อมทำงานหรือกิจกรรมต่่างๆ
  • การนอนกลางวันนานๆ เป็นประจำ อาจทำให้นอนไม่หลับในช่วงเวลากลางคืน หรือรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ
  • การนอนกลางวันเป็นเวลานาน อาจจะรบกวนธรรมชาติของร่างกาย ทำให้วงจรนาฬิกาชีวิตแปรปรวนได้ เช่น เวลาที่ควรจะง่วงและนอนกลางคืนกลับไม่ง่วง ทำให้นอนดึก ตื่นสาย กินอาหารไม่ตรงตามเวลา เป็นต้น

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก pobpad.com, honestdocs.co

บทความแนะนำ