การเคี้ยว สมอง เคี้ยวอาหาร

จริงหรือไม่ เคี้ยวนาน ทำให้ฉลาด ? การเคี้ยวอาหารกระตุ้นสมอง

Home / สุขภาพทั่วไป / จริงหรือไม่ เคี้ยวนาน ทำให้ฉลาด ? การเคี้ยวอาหารกระตุ้นสมอง

การเคี้ยวมาก จะช่วยให้สมองปราดเปรียวมากขึ้น นักการเมืองชาวอังกฤษท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ” อาหาร 1 คำ ต้องเคี้ยวอย่างน้อย 3-12 ที ไม่ว่าอาหารนั้นจะอ่อนแค่ไหนก็ตาม ถ้าคุณไม่มีความอดทนขั้นนี้ ก็อย่าไปหวังว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้ … มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารตั้งแต่เด็ก สร้างความกลัดกลุ้มทรมานแก่เขามาก หลังจากเขาทดลองเคี้ยวอาหารคำละ 100 ทีแล้วปรากฏว่า เขาหายจากโรคกระเพาะอาหารในเวลา 1 สัปดาห์ ”

จริงหรือไม่ เคี้ยวนาน ทำให้ฉลาด ?

การเคี้ยวอาหาร กับสมอง

การเคี้ยวอาหารมิเพียงเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น ยังเกี่ยวพันกับสมรรถนะของสมองอย่างแนบแน่นด้วย การเคี้ยวอาหารจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลาย (SALIVARY GLAND) และต่อมใต้หู (PAROTID GLAND) หลั่งฮอร์โมนออกมา ขณะเดียวกัน อาการเคี้ยวซึ่งทำให้ฟันบนกับฟันล่างกระทบกัน ก็จะกระตุ้นสมองใหญ่ด้วย การกระตุ้นนี้จะทำให้สมองใหญ่ปราดเปรียวยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวินิจฉัย การขบคิดและสมาธิ

ผลที่ได้จากการทดลอง

จำนวนทีที่เคี้ยวอาหารสำหรับประกอบการพิจารณา ผู้ที่สนใจจะทดลองดูก็ได้

การเคี้ยวอาหาร 30 ที

ผลที่ได้จากการกินอาหารแต่ละคำ ควรเคี้ยวอย่างน้อยที่สุด 30 ที จะช่วยให้เหงือกแข็งแรงและช่วยรักษาอาการขี้หงุดหงิดจิตใจไม่สงบ

การเคี้ยวอาหาร 50 ที

จะช่วยลดอาการกลัดกลุ้มเจ้าอารมณ์อย่างน้อยที่สุดช่วยให้ลืมเรื่องไม่น่าอภิรมย์ได้ในเวลากินอาหารนอกจากนี้ ยังลดความอ้วนได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำที่เกินจำเป็นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

การเคี้ยวอาหาร 100 ที

ช่วยให้หนักแน่นมากขึ้น สามารถวินิจฉัยและจัดการปัญหาต่างๆ อย่างสงบเยือกเย็น กินน้อยแต่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยลดการอยากอาหารประเภทเนื้อ หรือระคายต่อร่างกายได้ด้วย

การเคี้ยวอาหาร 200 ที

ถ้ายืนหยัดเคี้ยว 200 ที ต่ออาหาร 1 คำได้ทุกมื้อแล้ว จะหายจากโรคกระเพาะเรื้อรัง และโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คาดการณ์และวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น

เมื่อทราบข้อมูลอย่างนี้แล้ว ลองหันกลับมามองตัวเองหรือคนรอบข้าง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบเคี้ยวข้าวเร็วยังไม่ทันละเอียดก็รีบกลืน ผลลัพธ์ที่ตามมามีให้เห็นมากไม่ว่าเรื่องของท้องผูก อาหารไม่ย่อย ร้องโอดโอยกันยกใหญ่ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ต้องใส่ใจเรื่องการเคี้ยวอาหารของลูกให้มากขึ้น

ที่มา นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.153 April 2006

บทความที่เกี่ยวข้อง