ภูมิแพ้ โรคหน้าหนาว

เตือนภัยหน้าหนาว !! ระวังเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อันตรายที่มากับอากาศเย็น

Home / สุขภาพทั่วไป / เตือนภัยหน้าหนาว !! ระวังเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อันตรายที่มากับอากาศเย็น

ช่วงนี้ก็อยู่ในช่วงหน้าหนาวกันแล้ว ถึงอากาศจะไม่ค่อยหนาวเสียเท่าไหร่ในบางพื้นที่ แต่จังหวัดทางภาคเหนือ และอีสานก็เริ่มสัมสัมผัสกับอากาศหนาวกันแล้ว ซึ่งอากาศหนาวอาจจะทำให้เรารู้สึกดีกว่าแดดร้อนๆ ที่แผดเผา แต่อากาศหนาวก็ส่งผลเสียต่อผิวหนังของเราไม่แพ้กับเวลาที่เราตากแดดแรงๆเลย

เตือนภัยหน้าหนาว !! ระวังเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคทางผิวหนังที่มักจะมาพร้อมกับโรคภูมิแพ้ โรคนี้เกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้คือ ฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูหนาว เพราะอากาศแห้งจะทำให้ผิวเราแห้งตามไปด้วย ซึ่งก็ก่อให้เกิดอาการคัน และอักเสบตามมาได้ แต่นอกจากฤดูกาลแล้วก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น ที่ก่อให้เกิดผื่นคัน
  • เสื้อผ้า ประเภทขนสัตว์
  • เชื้อโรคต่างๆ ที่ปะปนมาในอากาศ
  • สบู่ ผงซักฟอก ที่ใช้มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีผลต่อการละลายไขมันที่ผิวหนัง ส่งผลทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้
  • อาหาร ซึ่งมีส่วนที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

อาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

อาการของโรคนี้จะมีการแสดงออกในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกันดังนี้

วัยทารก (อายุ 2 เดือน – 2 ปี) – เริ่มจากมีผื่นแดงคัน มีตุ่มแดง และตุ่มน้ำเล็กๆอยู่ในผื่นแดงนั้น ที่แก้มถ้าตุ่มน้ำแตกออกจะมีน้ำเหลืองเยิ้มหรือตกสะเก็ด และอาจจะค่อยลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ลำตัว ข้อศอก เข่า ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้

วัยเด็ก (อายุ 2 ปี – 12 ปี) – จะมีผื่นแดงมีลักษณะตุ่มนูนแดงแห้งๆ มีขุยเล็กน้อย และก่อให้เกิดอาการคัน แต่ระวังอย่าเกาจนเป็นรอยถลอก เพราะอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ โดยผื่นมักจะขึ้นบริเวณ บริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา

วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ – จะมีผื่นขึ้นตามบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา ด้วยลักษณะที่คล้ายกับผื่นที่พบในวัยเด็ก สำหรับบางรายที่เป็นมากๆผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มจะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย

วิธีรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

วิธีการป้องกัน และรักษาโรค

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น หรือการสัมผัสกับสารระคายเคือง นอกจากนี้ควรเลือกใช้สบู่อ่อนๆ ใช้ใช้เสื้อผ้านุ่มโปร่งสบาย เช่น ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เป็นต้น

2. อย่าเกาผื่นคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นผิวหนังที่อักเสบ มีอาการกำเริบเห่อมากขึ้น ถ้าคันมากๆ อาจจะรักษาได้ด้วยการกินยาต้านฮีสตามีน เพื่อช่วยลดอาการคัน

3. ทามอยซ์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่น เพื่อป้องกัน และรักษาผิวแห้ง ซึ่งการทาโลชั่นควรทาหลังอาบน้ำทันที

4. ทายาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง แต่การใช้ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้ควบคุมการดูแลของแพทย์

5. ถ้าเกิดมีตุ่มหรือผื่นแดงขึ้น แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย

ที่มา : สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย , bangkokhospital

บทความแนะนำ