ท่าออกกำลังกาย ปวดเข่า ออกกำลังกาย เจ็บเข่า

ปวดเข่า เจ็บเข่า ควรออกกำลังกายอย่างไร ถึงจะปลอดภัย และได้ผลดี

Home / สุขภาพทั่วไป / ปวดเข่า เจ็บเข่า ควรออกกำลังกายอย่างไร ถึงจะปลอดภัย และได้ผลดี

สำหรับคนที่มีอาการ ปวดเข่า เจ็บเข่า แต่ก็อยากจะมีสุขภาพที่ดี ด้วยการออกกำลังกาย แต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะเป็นอันตรายมั้ย? วันนี้เรามีบทความ เกร็ดความรู้ มีอาการปวดเข่า ต้องออกกำลังกายอย่างไร ? มาให้อ่านเป็นคำแนะนำค่ะ

ปวดเข่า เจ็บเข่า ต้องออกกำลังกายอย่างไร ?

ปัญหาปวดเข่า เจ็บเข่า ของคนที่มีอาการนี้อยู่ คำตอบสำหรับการไขข้อข้องใจว่าคุณจะสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ ลองอ่านข้อมูลจากคำแนะนำ สำหรับการออกกำลังกายในคนที่มีอาการปวดเข่า ของสมาคมผู้สูงอายุในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังต่อไปนี้

ปวดเข่า เจ็บเข่า ต้องออกกำลังกายอย่างไร ?

ออกกำลังกายได้ แต่ต้องออกให้ถูกประเภท ที่ให้ออกกำลังกาย เพราะประโยชน์ที่ได้นั้นเป็นส่วนช่วยสำคัญ ของการลดอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า สามารถลดอาการเจ็บปวด เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่า ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยืดข้อต่อ และเยื่อหุ้มรอบข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง

– แนะนำให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และควรออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น การเดิน การว่ายน้ำ

อย่าออกกำลังกายแบบใช้แรงกระแทกอย่างหนัก เช่น กระโดด หรือวิ่ง เป็นต้น

– การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เข่าหรือบริเวณส่วนลำตัวช่วงล่างของร่างกายไม่ต้องมาแบกรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

– ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังได้ด้วย

ปวดเข่า เจ็บเข่า ควรออกกำลังกายอย่างไร?

หากกังวล ไม่กล้าที่จะเสี่ยงออกกำลังกาย ลองใช้วิธีต่อไปนี้

– เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจประเมินระดับอาการเจ็บปวด บริเวณที่เจ็บปวด การเสื่อมของข้อ และการเคลื่อนไหวของข้อ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ การค้นหารูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสม

– เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทั้งความแข็งแรง ความทนทานและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมถึงความทนทานของหัวใจ อัตราการหายใจ ชีพจร เพื่อค้นหาระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเมื่อยล้ามากเกินไป ในบริบทการออกกำลังกายที่ร่างกายสามารถทนไหว

– วางโปรแกรมการออกกำลังกาย (ควรทำร่วมกับนักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย) โดยเน้นไปที่กิจกรรมการออกกำลังกาย ที่มีการลงน้ำหนักบนข้อเข่าให้น้อยที่สุด และไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด

ที่มาจาก:  ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2552), สุขภาพดี…ในที่ทำงาน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ, thaiheartfound

บทความแนะนำ