ทองเอกหมอยาท่าโฉลง โรคติดต่อ

ทำความรู้จักกับ โรคคุดทะราด โรคที่แม่ผ่องเป็นในละคร ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

Home / สุขภาพทั่วไป / ทำความรู้จักกับ โรคคุดทะราด โรคที่แม่ผ่องเป็นในละคร ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

ฉายลงจอแล้วเรียบร้อยสำหรับละครพีเรียดเรียกเสียงฮาอย่าง “ทองเอกหมอยาท่าโฉลง” นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ, คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส, ปรมะ อิ่มอโนทัย, สาริน รณเกียรติ ฯลฯ แค่ชื่อเรื่องก็บ่งบอกแล้วว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมอยา สมุนไพร รวมไปถึงการรักษาต่างๆ ซึ่งเป็นการสอดแทรกสิ่งที่เราไม่เคยรู้หรือเกร็ดความรู้ต่างๆ ผ่านละครเรื่องนี้

ทำความรู้จักกับ โรคคุดทะราด

ในละครตอนแรกนี้ นายทองเอก พระเอกของเรื่องได้ไปพบกับ ‘แม่ผ่อง’ ที่กำลังจะฆ่าตัวตายจากการเป็นโรคร้ายที่มีแต่คนรังเกียจ แต่เมื่อนายทองเอกได้ดูแผลดังกล่าวจึงบอกกับแม่ผ่องว่านี่คือ “โรคคุดทะราด” สามารถรักษาหายได้ ทำเอาแฟนละครสงสัยและอยากทราบว่า จริงๆ แล้วโรคคุดทะราดเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไร วันนี้แคมปัส-สตาร์มีคำตอบมาฝากค่ะ


ภาพจาก healthcarethai.com

โรคคุดทะราด คือ

โรคคุดทะราดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ‘ทรีโพนีมา เพอร์ทีนู (Treponema pertenue)’ เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง เป็นแล้วสามาระเป็นอีกได้ สามารถติดต่อกันได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม พบมากในประเทศเขตร้อน เชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัสกับน้ำเหลืองหรือของใช้ที่ปนเปื้อนน้ำเหลืองของผู้ป่วยในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แต่ในระยะที่สามไม่สามารถแพร่เชื้อได้ เชื้อมีระยะฟักตัวโดยทั่วไป 3-6 สัปดาห์ และสามารถติดต่อกันได้ตราบเท่าที่มีเชื้ออยู่แผล ส่วนใหญ่จะพบเชื้ออยู่ตามบาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อบุช่องปากและจมูกของผู้ป่วย


ภาพจาก odpc3.ddc.moph.go.th

อาการ

หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทางบาดแผลแล้วประมาณ ๓-๖ สัปดาห์ จะเกิดโรคระยะแรก จะมีตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นที่ผิวหนังเรียกว่า ‘ตุ่มแม่ (mother yaw)’ ต่อมาตุ่มนี้จะค่อยๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มนูนแดงหรือเป็นแผลคล้ายดอกกะหล่ำปลี แผลคุดทะราดจะพบได้ทั่วร่างกาย

ระยะที่สอง จะมีการกระจายของผื่นนูนหรือมีจุดด่างแบบเกล็ด ต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้แผลอาจจะอักเสบและบวมโต ในผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ รอยแผลจะมีลักษณะหนาขึ้นคล้ายหนังคางคกบนฝ่ามือและฝ่าเท้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่แผลจะหายเองได้แต่ก็จะเกิดแผลใหม่ขึ้นอีกในตำแหน่งอื่นหรือตำแหน่งเดิม

ในระยะสุดท้ายจะเกิดแผลที่สามารถทำลายผิวหนังและกระดูก ทำให้กระดูกกุดสั้นหรือพิการได้ โดยจะเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 – 20 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่ได้รับการรักษาหลังจากการติดเชื้อนาน 5 ปี หรือนานกว่า โรคคุดทะราดไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแต่ทำให้ร่างกายผิดปกติหรือพิการได้


ภาพจาก woundcareadvisor.com

การรักษา

หากสงสัยหรือมีอาการคล้ายจะเป็นโรคคุดทะราด ควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้จะต้องหมั่นดูแลรักษาร่างกายให้สะอาดและทำความสะอาดบาดแผลอย่างสม่ำเสมอ ทำลายเชื้อโรคที่อุปกรณ์ของใช้โดยใช้ความร้อนหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้ร่วมอาศัย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก pidst.nethealthcarethai.comsaranukromthai.or.th

บทความแนะนำ