COVID19 ฉีดวัคซีน วัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า โควิด19

ไขข้อสงสัย ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid19)

Home / สุขภาพทั่วไป / ไขข้อสงสัย ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid19)

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยได้ดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยในขณะนี้ยังคงมีข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 วันนี้ทาง แอสตร้าเซนเนก้า จึงขอช่วยไขข้อสงสัย ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากประเด็นยอดฮิตที่ถูกพูดถึง และสอบถามกันเป็นอย่างมากในโลกออนไลน์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และคลายกังวลให้แก่ประชาชนก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

ไขข้อสงสัย ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ก่อนฉีดวัคซีน กินกาแฟไหม ?

ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถกินกาแฟไหม? และการกินกาแฟ จะส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของวัคซีนหรือไม่

  • ไม่จำเป็นจะต้องงดการดื่มชา กาแฟ โดยการดื่มชา กาแฟไม่ได้ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของวัคซีน [1]

ฉีดวัคซีนอื่นๆ ได้ไหม ?

ถ้าหากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดวัคซีนอื่นๆ อย่างวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนตับอักเสบ บี หรือวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ได้หรือไม่

  • ควรเว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน อย่างไรก็ดีสำหรับวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด หรือวัคซีนบาดทะยักเมื่อมีบาดแผลให้ฉีดวัคซีนเหล่านี้ได้เลยโดยไม่ต้องทิ้งช่วง1

ไขข้อสงสัย ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid19)

วัคซีนเข็มที่ 3

การฉีดวัคซีนฯ เข็มที่ 3 หรือเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จำเป็นไหม? และสามารถฉีดวัคซีนต่างชนิด/ยี่ห้อ สลับกันได้หรือไม่

  • ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอสำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือวัคซีนเข็มที่ 3 ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ จึงต้องรอข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติม สำหรับการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อกันนั้น เริ่มมีการศึกษาออกมามากขึ้น แต่ข้อมูลยังมีจำกัด คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อกัน จึงต้องขึ้นกับคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขของแต่ละประเทศ

ไข้ขึ้นหลังฉีดวัคซีน

หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ไม่มีอาการไข้ขึ้น ตัวร้อน หรือผลข้างเคียงใด แสดงว่าภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองหรือไม่

  • อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นได้เนื่องจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในขณะเดียวกันการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันในบางราย อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีผลข้างเคียงร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่มีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด [2]

ผู้ที่แพ้อาหาร หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ

ผู้ที่แพ้อาหาร หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่? ถ้าฉีดจะทําให้ภูมิขึ้นน้อยกว่าคนปกติหรือไม่

  • สามารถฉีดวัคซีนได้ เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ผลิตจากสัตว์อาหารทะเล หรือไข่ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ต่าง ๆ [3]

ผู้มีประจำเดือนกับการฉีดวัคซีน

ผู้มีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

  • การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด-191

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.azcovid-19.com/asia/th/th.html

อ้างอิง

[1] อ้างอิงข้อมูลจาก ข้อคำถามที่พบบ่อย คำถามที่ 2 หน้า 58, คำถามที่ 13 หน้า 60 , คำถามที่ 1 และ 2 หน้า 61 และ คำถามที่ 10 หน้า 63 จากเอกสารแนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การระบาดปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรังปรุงครั้งที่ 1 จัดทำโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
[2] WHO. Side Effects of COVID-19 Vaccines. Available at www.who.int
[3] ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19

ภาพจาก www.rawpixel.com

บทความแนะนำ