เคยมั้ย นอนเท่าไหร่ก็ไม่หายง่วง ถ้าคุณเคยมีอาการแบบนี้คงจะเข้าใจเป็นอย่างดีว่าอาการง่วงเหงาหาวนอนนั้นนอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียไม่สดชื่นแล้ว ยังจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอีกด้วย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกัน
นอนเท่าไหร่ก็ไม่หายง่วง
ลองดูสิว่าพ่อแม่ของคุณมีอาการนี้ด้วยหรือเปล่า
จากการวิจัยพบว่าการที่บางคนนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม จากการวิจัย นักวิจัยได้พบยีนตัวหนึ่งที่คอยควบคุมเวลาการนอนและการตื่นนั่นคือ ‘ยีนการนอนหลับ’ ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้บางคนต้องการเวลานอนที่มากกว่าคนอื่น ๆ และแน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เราสามารถควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการนอนหลับของเราได้ อย่างเช่นเวลาเข้านอนและตื่นนอน
อาจจะเป็นสัญญาณของโรคความผิดปกติด้านการนอนหลับ (Sleeping Disorder)
ถ้าคุณมีอาการง่วงนอนอย่างหนักทั้ง ๆ ที่ก็นอนอย่างเพียงพอ อาจจะมีสาเหตุมากจากโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น การหยุดหายใจระหว่างนอนหลับที่ทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึกจนทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้โรคลมหลับ และปัญหาการนอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอน ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอหรือไม่เต็มอิ่มจนทำให้เกิดอาการง่วงนอนระหว่างวันได้
คุณอาจจะมีปัญหาสุขภาพจิตก็ได้นะ
รู้หรือไม่ว่าการนอนยาว ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของภาวะซึมเศร้า เพราะการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และสุขภาพจิตอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ โดยส่วนมากมักมาจากอาการเบื่อหน่าย นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าก็จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเป็นสาเหตุของอาการง่วงเหงาหาวนอน
การได้รับบาดเจ็บที่สมอง
การที่สมองได้รับบาดเจ็บนั้นจะทำให้ร่างกายต้องการเวลานอนที่เพิ่มมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าคนที่สมองได้รับบาดเจ็บจะนอนเยอะกว่าคนอื่น ๆ เพราะการนอนหลับนั้นเป็นการฟื้นฟูสมอง และเมื่อได้นอนหลับอย่างเต็มที่สมองของพวกเขาก็กลับมาสู่สภาพปกติ
ง่วงเพราะนอนไม่พอ
จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนอนยาว ๆ 10-12 ชั่วโมงเพื่อชดเชยการอดหลับอดนอนในวันที่ผ่านมานั้นจะช่วยให้ร่างกายสดชื่นอยู่สักพักก่อนที่จะทรุดฮวบในเวลาต่อมา
นอกจากการนอนไม่พอแล้ว การนอนไม่เป็นเวลาก็จะอาจจะทำให้คุณง่วงไม่หายเช่นกัน วัยรุ่นส่วนใหญ่มักจะชอบนอนดึกตื่นสาย บางคนถึงกับนอนเช้าตื่นบ่าย ซึ่งเป็นการฝืนกฎของนาฬิกาชีวิตที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่นนอนของเรา ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียในระหว่างวันนั่นเอง
ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียอยู่บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่คุณก็ไม่ได้อดหลับอดนอน ขอแนะนำให้รีบไปหาหมอโดยด่วน เพราะไม่แน่นะ
คุณมีโรคเหล่านี้ติดตัวอยู่หรือเปล่า
ปัญหาสุขภาพบางอย่างก็ส่งผลต่อการนอนหลับ อย่างเช่น
โรคโลหิตจาง อาการง่วงนอนจากโรคโลหิตจางนั้นโดยส่วนใหญ่จะมาจากภาวะขาดธาตุเหล็ก
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
โรคเบาหวาน ทำให้รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
โรคแพ้กลูเตน อาการแพ้อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย และโลหิตจางได้
โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง คือโรคที่เกิดจากการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงติดต่อกันมานานมากกว่า 6 เดือน
บทความแนะนำ
- ไม่อยากเป็นลมต้องรู้ ! กฏเหล็ก 7 ข้อในการออกกำลังกายหน้าร้อน
- นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า – ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า
- เช็กหน่อย เราเป็นไบโพลาร์หรือเปล่า ? พร้อมวิธีรับมือ กับอารมณ์แปรปรวนสุดขั้ว
- 10 ข้อปฏิบัติเพื่อการนอนหลับที่ดี | ทำอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
- ข้อดีของการนอนเปลือย – นอนเปลือย มีดีมากกว่าที่คิด