“โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” เชื่อว่าหลายๆ คน อาจจะยังไม่เคยไดยินหรือเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว โรคนี้คืออะไร? คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการอย่างไร? แล้วจะส่งผลอย่างไรบ้างต่อคนที่เป็นและคนรอบข้าง? โดยโรคมารยาททางสังคมบกพร่องนี้กำลังระบาดมากขึ้นในสังคมไทย แถมยังเป็นโรคที่สามารถระบาดส่งต่อจากรุ่นไปสู่อีกรุ่นก็ได้อีกด้วย
เพราะในปัจจุบันสังคมที่เราอยู่กันนั้น ร่ายล้อมไปผู้คนมากมายและทุกคนเริ่มจะยิ้มให้กันน้อยลง มองกันเป็นมิตรน้องลง การใช้ชีวิตในสังคมก็ดูเหมือนต่างคนต่างไม่สนใจกัน มีความเห็นแก่ตัวมากกว่าความเห็นใจซึ่งกันและกัน จึงทำให้โรคนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะยิ่งปล่อยไปนานเท่าไหร่ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาได้ และอาจจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา รวมถึงเด็กๆ ที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคตอีกด้วย
โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง โรคที่กำลังน่ากลัวอยู่ในสังคมไทย
หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักเกี่ยวกับโรคนี้และอาจจะไม่ทราบว่าคนใกลตัวของเรานั้นกำลังเป็นโรคนี้กันอยู่หรือเปล่า ถ้างั้นเราลองมาสังเกตกันเลยว่าคนรอบข้างเรานั้น ใครมีอาการเหล่านี้กันบ้าง….
ขั้นแรก
ผู้ป่วยจะมีอาการนิ่งเฉย ไม่ตอบสนองต่อการมีปฏิสัมพันธ์หรือการพูดคุยกับคนรอบข้าง เช่น การทักทาย การขอบคุณ หรือความช่วยเหลืไม่ชอบใจ โดยจะมีการแสดงออกอย่างรุนแรงทันทีที่ไม่ถูกใจในบางสิ่งบางอย่าง
ขั้นที่สอง
ผู้ป่วยจะไม่สามารถแสดงออกถึงมารยาทขั้นพื้นฐานได้เลย เช่น การขอบคุณ การขอโทษ การรับการทักทาย การยิ้ม การตอบคำถามทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือการให้ความร่วมมือกับการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มได้ และไม่สามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ หรือมีน้ำใจต่อผู้อื่นได้เลย หากปราศจากผลประโยชน์และผลตอบแทน
ขั้นวิกฤติ
ผู้ป่วยจะมีอาการต่อต้านสังคมอย่างเห็นได้ชัด เหตุ+ผล จะหายไป โดยจะมีสัญชาตญาณของความเห็นแก่ตัวเข้ามาแทนที่ อาการภายนอกจะสังเกตได้จากหน้าตาที่บูดบึ้ง โกรธเคืองตลอดเวลาในทุกสถานกาณ์ บางรายมีท่าเดินที่ดูแปลกผิดปกติ อันเกิดจากบุคลิกภาพที่เสื่อมไปจากการไม่ห่วงภาพลักษณ์ของตนนั่นเอง และจะคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุดในโลก คือมองว่าตัวเองสำคัญเกินกว่าจะต้องลดตัวเองลงไปทำดีกับใคร ตัวเองสำคัญจนไม่จำเป็นต้องเคารพใครทั้งนั้น เพราะเป็นหน้าที่ของคนรอบข้างที่ต้องคอยมาเอาอกเอาใจตัวเพียงฝ่ายเดียว
หากคนที่เป็นโรคนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจจะเกิดผลร้ายแรงต่อตนเองตามมาได้ ทั้งไม่มีใครอยากคบด้วยอีกต่อไป คนรอบข้างไม่อยากที่จะพูดคุยด้วย และสุดท้ายก็ถูกรังเกียจจากสังคม ดังนั้นใครที่กำลังรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือรู้ว่าคนรอบข้างกำลังเป็นโรคนี้อยู่ ตามมาดูวิธีรักษากันได้เลย ดังนี้
- ยิ้มให้คนรอบข้างด้วยความเป็นมิตร
- หัดเอาใจเขามาใส่ใจเราให้อยู่เป็นประจำ นึกถึงคนอื่นให้มากกว่านึกถึงแต่เรื่องของตัวเอง
- หัดพูดคำว่า “ขอบคุณครับ/ค่ะ” และ “ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ” อย่างจริงใจให้เป็นนิสัย
- หัดเป็นผู้ให้และรู้จักให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
- เปลี่ยนจากคำว่า “ยอม” เป็นคำว่า “เข้าใจ”
- ใครที่มีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ถ้าใช้วิธีเหล่านี้รักษาแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรที่จะไปพบแพทย์ในทันที
โดยในความเป็นจริงแล้วโรคนี้สามารถรักษาหรือป้องกันไม่ให้เป็นได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่เริ่มตั้งแต่ตอนเด็กๆ ด้วยวิธีการดูแลเอาใจใส่จากพ่อ-แม่ สอนให้เขาเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขเมื่อต้องเข้ามาอยู่ในสังคมปัจจุบัน โดยที่ไม่ต้องคิดว่าเราต้องดี เลิศกว่าคนอื่น ขอเพียงแค่เราเป็นคนดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักการแบ่งปันให้ผู้อื่น และก็ทำให้เราสามารถทำงานร่วมกันคนอื่นได้อย่างมีความสุข ใช้ชีวิตได้อย่างไม่กังวลหรือกลัวอะไรเลย
—————————————
ที่มา : www.scholarship.in.th, www.amarinbabyandkids.com
บทความแนะนำ :
- รวมไอเดีย เพิ่มเปลญวนในบ้าน ให้เป็นมุมพักผ่อนสุดชิล
- 11 วิธีช่วยผ่อนคลายระหว่างวัน | เหนื่อยนักก็พักบ้าง
- 13 ผลเสียของความเครียด ที่ส่งผลต่อสุขภาพ – ความเครียด
- สมองโล่ง! 10 อาหาร ที่ช่วยบรรเทา “ความเครียด” ของใกล้ตัวทั้งนั้นเลย
- พักผ่อนด่วน! 4 อาการความเครียดสะสม ในวัยเรียน – ร่างกายแย่ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง