เมื่อเอ่ยคำว่า “ถั่ว” หลาย คนอาจมีความรู้สึกมันปากอยากเคี้ยวกันยกใหญ่ แต่ทราบหรือไม่ว่า ถั่วนอกจากจะเป็นของขบเคี้ยวให้ทานยามว่าง หรือดูภาพยนตร์แล้ว ถั่วยังเป็นสารที่เป็นตัวกระตุ้นพลังภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงชั้นยอด ซึ่งส่งผลดีต่อร่างกายอีกด้วยนะ
ประโยชน์จากถั่วชนิดต่างๆ ที่เราควรรู้
ถั่วมีหลากหลายชนิดให้เราเลือกรับประทาน ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารที่แตกต่างกันไป
ถั่วเหลือง
เป็นพืชที่มีสารอาหารสูงที่สุดในบรรดาเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด และสามารถนำมารับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นถั่วงอก เต้าหู้ เทมเป้ โยเกิร์ต แป้ง นม มิโซะ และซีอิ๊วขาว ถั่วเหลืองช่วยควบคุมอาการที่เกี่ยวเนื่องกับการหมดประจำเดือนทั้งยังช่วยป้องกัน มะเร็ง ในถั่วเหลืองยังอุดมด้วยวิตามินอีที่คอยต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินบีที่มีบทบาทในการบำรุงระบบประสาทและช่วยร่างกายต่อสู้กับความเครียด
ถั่วลันเตา
เป็นถั่วที่มีมากด้วยปริมาณวิตามินบี ช่วยรักษาระดับพลังงานและสร้างเนื้อเยื่อประสาทและกล้ามเนื้อ ใยอาหารสูงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และการย่อยมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีวิตามินบี 5 ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และวิตามินซีต้านอนุมูลอิสระ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เป็นแหล่งของวิตามินบี ที่ช่วยรักษาเส้นประสาทและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของร่างกาย ตลอดจนเสริมความต้านทานต่อความเครียด และยังมีแร่ธาตุสำคัญสำหรับสุขภาพภูมิคุ้มกัน รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระซีลีเนียมที่จำเป็นต่อการผลิตแอนติบอดี และสังกะสีซึ่งใช้ต่อสู้กับไวรัส ยับยั้งเซลล์มะเร็ง แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
อัลมอนด์
เป็นแหล่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง ในอัลมอนด์ 100 กรัม จะมีวิตามินอี 24 มิลลิกรัม และยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุแคลเซียมที่ป้องกันไวรัสได้อีกด้วย อัลมอนด์ยังมีเลทริลที่เชื่อว่าเป็นสารประกอบที่ต่อสู้กับเนื้องอกได้อย่าง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีสังกะสีสูง ช่วยสร้างความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันและทำให้แผลหายเร็ว อัลมอนด์เต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ให้คุณค่าทางสารอาหาร จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้
ถั่วมีผลดีต่อโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีสาเหตุจากพันธุกรรมและพฤติกรรม พฤติกรรมที่สำคัญได้แก่ การออกกำลังกาย อ้วน และการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน มัน เค็ม แต่อาหารที่สามารถป้องกันโรคหัวใจโดยเฉพาะถั่ว เช่น ถั่ว almonds, walnuts, hazelnuts และ macadamias หากรับประทานประจำจะลดอุบัติการณ์ของ โรคหัวใจได้ร้อยละ 30-50
ถั่วกับโรคอ้วน
แม้ว่าถั่วจะมีส่วนประกอบสำคัญคือไขมัน แต่การรับประทานถั่วโดยยึดหลักการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกำหนดมิให้ได้รับพลังงานเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ปริมาณไขมันที่มีในถั่ว fiber ที่อยู่ในถั่วจะทำให้คนที่รับประทานอาหารอิ่ม ไม่อยากรับประทานอาหารอื่น โดยมีการศึกษาถึงผลการรับประทานถั่ว Almond พบว่าการรับประทานถั่วนี้ไม่ทำให้น้ำหนักหรือระดับคอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากไขมันบางส่วนไม่ถูกดูดซึม
เราจะเพิ่มการรับประทานถั่วได้อย่างไร
การรับประทานถั่วมากพอประมาณจะช่วยป้องกันโรคดังกล่าว ดังนั้นการวางแผนรับประทานอาหารจำพวกถั่วจึงมีความจำเป็นทั้งนี้เพืป้องกันมิให้อ้วน โดยเราอาจจะรับประทานถั่วเป็นอาหารว่าง เราจัดถั่วเป็นอาหารหมวดที่ให้โปรตีน ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกถั่วจะต้องลดพวกเนื้อสัตว์ลงตามส่วน ลดไขมันอื่นที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำสลัดใช้อย่างใสที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงของทอด หลีกเลียงกะทิ
นั่นก็หมายความว่า การทานถั่วหรือแม้แต่การทานทุกอย่าง อยู่ที่ความพอดีของการทานนะคะ
ทานในปริมาณที่เหมาะสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่หากทานมากเกินไปก็จะกลายเป็นโทษนั่นเอง