ทราบหรือไม่ว่า ความเชื่อกับพฤติกรรมแบบไหนที่ควรทำหรือไม่ควรทำ ขณะมีประจำเดือน วันนี้มีเรื่องนี้มาฝากคุณสาวๆ ค่ะ…
ความเชื่อต้องห้าม ขณะมีประจำเดือน
ห้ามอาบน้ำเย็น
ในช่วงที่มีประจำเดือน เป็นความเชื่อตั้งแต่อดีต เมื่อเวลามีประจำเดือน ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการแปรปรวน ภูมิคุ้มกันลดลง การอาบน้ำเย็นจะทำให้ร่างกายต้องปรับอุณหภูมิตาม อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีประจำเดือนสามารถอาบน้ำเย็นในระดับอุณหภูมิปกติได้
ห้ามรับประทานน้ำแข็งหรือของเย็น
บางคนประจำเดือนมาต้องหลีกเลี่ยงการกินน้ำแข็งหรือของเย็นทุกที เป็นเพราะความเชื่อที่มีมาแต่เดิม แต่ในความเป็นจริง สามารถที่จะรับประทานน้ำแข็งหรือของเย็นได้ตามปกติ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป
ห้ามออกกำลังกายเวลาขณะมีประจำเดือน
เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะความจริงแล้วการออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา สารนี้จะทำให้เกิดความสุข ช่วยผ่อนคลายความเครียด และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นวิธีป้องกันอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการมีประจำเดือนได้
ห้ามมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
ความเชื่อในเรื่องนี้คงจะไม่ใช่ข้อห้าม แต่ก็ควรจะระมัดระวังในเรื่องความสะอาดให้มากกว่าปกติ เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นควรที่จะรักษาความสะอาดเป็นพิเศษทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ห้ามลงเล่นน้ำ
เป็นความเชื่อในเรื่องของความสะอาด เพราะในน้ำ อาจจะมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบได้ ดังนั้นถ้าอยากจะลงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำก็คงจะต้องเลือกสระว่ายน้ำที่ สะอาด เลือกช่วงเวลาที่ไม่มีคนใช้บริการมากนัก และก็ควรที่จะใช้ผ้าอนามัยแบบสอดก่อนที่จะลงว่ายน้ำ
*** รู้อย่างนี้แล้ว ก็ลองพิจารณาดูว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำขณะมีประจำเดือน.
ที่มาเรื่องจาก เดลินิวส์
ประจำเดือนของผู้หญิง ภาษาอังกฤษ เรียกอย่างไร?
– period : สมัย, ประจำเดือน, คาบ, ตอน, ปูน, เพลา
– menstruation : ประจำเดือน, ต่อมโลหิต, การมีประจำเดือน, การมีเมนส์, การมีระดู, ระดู
– menses : ประจำเดือน, ต่อมโลหิต, ระดูสตรี, ระดู
– menstrual period : ประจำเดือน
– monthly period :ประจำเดือน
ผ้าอนามัย ภาษาอังกฤษ sanitary napkin
บทความแนะนำ
- เราเป็นไบโพลาร์หรือเปล่า ? วิธีรับมือ กับอารมณ์แปรปรวนสุดขั้ว Bipolar Disorder
- รู้ทัน PMS อาการก่อนมีประจำเดือน ของมนุษย์เมนส์ – วิธีป้องกันอาการ PMS
- ผู้หญิงต้องรู้! 7 สีของประจำเดือน บอกเตือนสุขภาพจริงหรือไม่?
- น้ำมัน “อีฟนิ่ง พริมโรส” ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
- ประจำเดือน ใช่เลือดเสียหรือเปล่า ? (เมนส์) menstruation มาจากไห